Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ใช้โทรศัพท์กับลูกน้อยอย่างไรให้เกิดประโยชน์

14 พ.ค. 2563


   ปัจจุบันหลายๆ ครอบครัวแทบจะเลี้ยงลูกด้วยแท็บเล็ตเป็นส่วนใหญ่ แต่หากให้ลูกตกอยู่หน้าจอตลอดอาจไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะสิ่งที่น่ากังวลคือ ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสายตาเพียงอย่างเดียวแต่ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านอื่นๆ ของเด็กๆ การใส่ใจสัญญาณเตือนเพื่อตรวจเช็คว่าลูกตกอยู่ในภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เรียนรู้และเข้าใจ

   ถ้าตามธรรมชาติแล้ว หากเด็กๆ มีคุณพ่อคุณแม่เล่นอยู่ด้วย เด็กๆ จะสนใจคุณพ่อคุณแม่กว่าการเล่นอุปกรณ์สื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ใจและมีวิธีการเล่นกับเขาเท่านั้นเองครับ ส่วนถ้าเป็นเคสที่ติดไปแล้ว ก็ยังไม่สายเกินแก้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถช่วยปรับพฤติกรรมของลูกๆ ได้ ด้วยการไม่ยื่นโทรศัพท์มือถือให้ลูกเล่น แต่ในช่วงแรกๆ เขาอาจจะมีอาการร้องไห้ งอแง อยู่บ้าง เพราะเป็นสิ่งที่เขาเคยได้รับมาก่อน แต่เด็กๆ เขาจะสามารถปรับตัวได้ แล้วก็จะค่อยๆ ลดชั่วโมงการเล่นลง

เช็คด่วน ติดโทรศัพท์มือถือมากๆ ส่งผลด้านไหนบ้าง ??

  • ด้านการพูดและสื่อสาร อาจจะพัฒนาได้ช้าลง เป็นการลดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารแบบตัวต่อตัวของเด็กๆ
  • ด้านสมาธิ เพราะภาพและเสียงจะผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กๆ ไม่สามารถจดจ่อกับการดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ และเสียงการแจ้งเตือนต่างๆ ก็รบกวนสมาธิของเด็กๆ
  • ด้านสุขภาพร่างกาย
    • การเคลื่อนไหวร่างกาย ในช่วงวัยเด็กๆ จำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อพัฒนาทักษะทางกาย ทั้งการเดิน วิ่ง ขยับมือ หยิบจับสิ่งของ แต่การที่เด็กๆ จดจ่ออยู่กับหน้าจอ อาจจะทำให้ไม่ได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ควร
    • การรบกวนนอนหลับ แสงหน้าจอที่สว่างๆ จะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมน “เมลาโทนิน” ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ เนื่องจากการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างเป็นสำคัญ ทั้งยังเป็นปัญหาต่อคุณภาพการนอนหลับ ทำให้เด็กๆ นอนฝันร้าย หรือนอนไม่หลับ ซึ่งจะมีผลทำลายการทำงานของเซลล์ประสาท ส่งผลระยะยาวไปถึงตอนโตได้
  • ด้านพฤติกรรม จะเกิดอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว เพราะไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กที่ติดเล่นเกมในโทรศัพท์มือถือ
   ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบข้างมีพฤติกรรมข้อใดข้อหนึ่ง การปรับพฤติกรรมคงต้องเริ่มจากตัวผู้ใหญ่เองก่อน เพราะลูกน้อยจะเรียนรู้และเลียนแบบจากพฤติกรรมของคนในครอบครัวและคนที่ดูแลเท่านั้น ดังนั้นพฤติกรรมของผู้ใหญ่จึงมีอิทธิพลกับพฤติกรรมของเด็กอย่างมาก หากคุณพ่อคุณแม่ลองใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากขึ้น และค่อยๆ ปรับลดเรื่องของการใช้โทรศัพท์ลงจะช่วยทำให้พฤติกรรมของเด็กๆ ช่วงแรกอาจจะมีงอแงบ้าง ตามประสาของเด็กๆ ต้องใจเย็นๆ รับรองเขาจะต้องปรับตัวได้ แล้วจะลดการเล่นโทรศัพท์มือถือลงอย่างแน่นอน

สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.ชัยวัฒน์ พานทอง กุมารแพทย์ศาสตร์ความเชี่ยวชาญพิเศษจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.