Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ฝุ่นพิษ PM2.5 มลภาวะตัวร้าย ทำ “ภูมิแพ้กำเริบ”

14 ก.พ. 2563


   สภาพอากาศโดยรวมเขตกรุงเทพมหานคร - ปริมณฑล ยังคงถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองทั้ง PM 10 และ PM 2.5 ในทุกวัน ฝุ่นละอองเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคภูมิแพ้อยู่เดิมมีอาการกำเริบมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการป่วยด้วยโรคภูมิแพ้มากยิ่งขึ้น โดยอาการแพ้ต่อสารที่มักพบในปัจจุบัน ได้แก่ ภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ และภูมิแพ้ผิวหนัง

อาการ

  • โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ ได้ดังนี้
    ภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หูอื้อ ปวดหัว รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่ายกว่าเดิม กลิ่นปากแรงขึ้นและไอเรื้อรัง
    ภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจส่วนหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกหรือหายใจเร็ว โดยเฉพาะช่วงกลางคืนหรือขณะออกกำลังกาย รวมถึงอาจมีเสียงวี้ดในขณะหายใจ
  • โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการคัน มีผดผื่นขึ้นตามตัว หรือตามผิวหนังอาจมีตุ่มบวม รู้สึกคัน และผิวหนังนูนขึ้นเป็นปื้นนูนสีแดง ในเด็กเล็กมักจะเป็นตามแก้ม ก้น ข้อเข่า ข้อศอก ส่วนเด็กโต มักจะเป็นตามข้อพับในร่างกาย

การตรวจวินิจฉัย

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Test) แพทย์จะนำสารสกัดจากภูมิแพ้หลายชนิดมาทดสอบกับผิวหนังของผู้ป่วย โดยผ่านการสะกิดหรือฉีด จากนั้นจะให้ผู้ป่วยรอดูอาการประมาณ 20 นาที หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ บริเวณที่ฉีดหรือสะกิดผิวหนังของผู้ป่วยจะเกิดเป็นตุ่มนูนแดงขึ้นมา
  • การตรวจเลือด (Blood Test Allergy) เป็นวิธีตรวจวินิจฉัยภูมิแพ้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อหาสารภูมิต้านทานอิมมูโนโกลบูลิน อีในเลือดของผู้ป่วยว่า จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ใดบ้าง

การรักษา

  • ในกรณีที่ท่านมีอาการของโรคภูมิแพ้อยู่เดิม แนะนำให้ใช้ยาที่ใช้ควบคุมอาการแพ้เดิม เช่น ยาพ่นจมูก หรือ ยาสูดสะเตียรอยด์ต่อเนื่อง
  • ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการแพ้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ส่วนผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ ควรใช้ยาภายใต้คำสั่งหรือการแนะนำของแพทย์อยู่เสมอ และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการแพ้ที่รุนแรง

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือมีสารเคมีที่เสี่ยงทำให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ คุณยังควรพกหน้ากากอนามัยติดตัวทุกครั้งด้วย
  • ใช้ยา ยาจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการแพ้ โดยผู้ป่วยภูมิแพ้ต้องใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด ไม่หยุดใช้ยาโดยพลการ เพราะอาจมีผลข้างเคียง หรือมีอาการแพ้ที่กำเริบขึ้น
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ. รวิ เรืองศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป และอายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745

 
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.