Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

โรคตับอักเสบซี

1 ก.พ. 2560

ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี
   ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus: HCV) มี 6 สายพันธุ์ ได้แก่ 1 (โดยแบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ย่อยได้แก่ 1a และ 1b), 2, 3, 4, 5 และ 6 โดยสายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลก คือสายพันธุ์ 1 และสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยคือสายพันธุ์ 1 และ 3 การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแต่ละสายพันธุ์นั้นใช้สูตรยา ขนาด และระยะเวลาในการรักษาต่างกัน และผลสำเร็จในการรักษาก็ต่างกันด้วย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจว่าไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นนั้นเป็นชนิดอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่อไป
อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี
  • ตับแข็ง อาการอ่อนเพลีย ท้องโต ขาบวม ตาเหลือง ตับจะมีอาการอักเสบและถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนเกิดอาการตับแข็ง
  • ตับอักเสบเรื้อรัง ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ แต่จะตวรจพบการทำงานของตับผิดปกติได้ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผู้ที่เป็นเรื้อรังจะมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งตับได้สูง
  • ตับอักเสบเฉียบพลัน หลังจากไวรัสตับอักเสบซีเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ มีอาการอ่อนเพลีย  คลื่นไส้  ปัสวะเข้ม จุกแน่นชายโครงขวา 
  • มะเร็งตับ อาการท้องโต คลำเจอก้อนที่ชายโครงขวา น้ำหนักลด 
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • ผู้ที่เคยได้รับเลือดและสารเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปี พ.ศ.2535
  • ผู้ที่มีการฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด ถึงแม้ว่าทดลองใช้เพียงครั้งเดียว
  • ผู้ที่มีผลเลือดการทำงานของตับพบการอักเสบ
  • ผู้ที่ติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ผู้ที่สำส่อนทางเพศหรือรักร่วมเพศ
  • ผู้ที่มีการสักตามตัว การใช้เข็มที่ติดเชื้อโรคสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม
  • ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มตำจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
  • การใช้ของส่วนตัวที่เปื้อนเลือดร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือกรรไกรตัดเล็บ
  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (ติดได้แต่พบน้อย)
การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบซี
  • วินิจฉัยตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับและหาเชื้อไวรัส บางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรกอาจจะต้องตรวจซ้ำอีก 2 - 8 สัปดาห์
  • ตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และตรวจหาสายพันธ์ุเพื่อการรักษาต่อไป
วิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบซี
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ให้สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
  • ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
  • ใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ เอ และ บี
การรักษาไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โดยการให้ยาอินเตอร์เฟอร์รอน (interferon) ร่วมกับการกินยาต้านไวรัส 
  • การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะพิจารณาตามภาวะของโรค และอาการร่วมต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็น
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.